ผู้มีบุญ

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

257 พระหลวงปู่เทพโลกอุดร เนื้อเหล็กเปียก ธาตุพนม ปี 2518 อจินไตย

พระหลวงปู่เทพโลกอุดร เนื้อเหล็กเปียก  ธาตุพนม ปี 2518  อจินไตย  


แร่เหล็กไหลเปียก

เหล็กไหลเปียกเป็นเหล็กไหลอีกชนิดหนึ่งที่หายากและไม่ค่อยพบเห็น เหล็กไหลเปียกจะมีความใกล้เคียงกับเหล็กไหลเงินยวงหรือเหล็กไหลชีปะขาว คือมีผิวพรรณวรรณะเป็นสีเงินยวง แต่สามารถกลับกลอกสีผิวตัวเองได้จากขาวเป็นดำและจากดำเป็นขาว คล้ายโลหะจำพวกเงินที่เมื่อโดนอากาศแล้วจะทำให้สีผิวเปลี่ยน แต่เหล็กไหล เปียกยิ่งอัศจรรย์กว่านั้นเพราะโลหะจำพวกเงินเมื่อเปลี่ยนสีผิวจาก ขาวเงินยวงเป็นสีออกดำแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสีเดิม ได้เอง ต่างกับเหล็กไหลเปียกที่สามารถเปลี่ยนสีผิวตนเองให้กลับไป กลับมาได้ เหล็กไหลเปียกหรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เหล็กเปียก นี้มีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์คือสามารถเรียกหยดน้ำในอากาศมารวมตัวกันได้ ไม่ว่าเหล็กเปียกจะอยู่ที่ไหนก็จะมีความชุ่มชื้นที่นั่นดุจเดียว กับเหล็กไหลน้ำ เหล็กเปียกมักพบเป็นก้อน มีสัณฐานดั่งก้อนแร่ใต้ดิน 

เท่าที่บันทึกไว้ ครูบาโพนสะเม็กซึ่งเป็นพระอริยเจ้าทางฝังลาวเป็น ผู้ที่ค้นพบเหล็กไหลเปียกจากการนั่งทางในแล้วนิมิตเห็นแร่กายสิทธิ์ประเภทนี้ ท่านจึงได้นำเอาแร่ชนิดนี้มาหลอมแล้วนำมาเคี่ยวด้วยวิชา อาคมและได้นำเหล็กเปียกมารีดเป็นแผ่น หลังจากนั้นนำไปบรรจุไว้ ที่ยอดฉัตรของพระธาตุพนม ด้วยเชื่อว่ามีอานุภาพทางป้องกันฟ้าผ่า อัคคีภัยและบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขได้ฤทธิ์อำนาจจากเหล็กไหลเปียกทำให้หัวไม้ขีดยุ่ย ดินปืนเปียก ไม่อาจจุดระเบิดหรือติดไฟขึ้นมาได้ ซึ่งคล้ายคลึงกับฤทธิ์อำนาจของ เหล็กไหลน้ำ และเหล็กไหลชีปะขาว เพียง แต่มีลักษณะรูปพรรณสัณฐาน ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ฤทธิ์ของเหล็กเปียกจะก่อให้เกิดความชื้น ขึ้นทุกครั้ง จะเห็นได้จากการที่พระพุทธรูปบางองค์มีนาออกจาก พระเคืยรซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเกิดขึ้นจากการนำเอาแร่เหล็กเปียกชนิด นี้หล่อหลอมลงไปในเนื้อธาตุที่ใช้ในการสร้าง ทำให้สามารถเรียก ละอองนั้าในอากาศมารวมตัวกันจนกลายเป็นนาอยู่ภายในเคืยรของ พระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปที่วัดนาอู จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือ พระพุทธรูปที่วัดตูม จังหวัดอยุธยา เป็นต้น 




























วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

256 พญาครุฑ สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต ปี พ.ศ.2399

พญาครุฑ สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต ปี พ.ศ. 2399

ครุฑ


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ครุฑ (อังกฤษGarudaสันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ
ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"
ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ
ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ
  1. ตัวเป็นคนอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่มีปีก
  2. ตัวเป็นคน หัวเป็นนก
  3. ตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก
  4. ตัวเป็นนก หัวเป็นคน
  5. รูปร่างเหมือนนกทั้งตัว



ตํานาน พญาครุฑ
  ในตํานานเมืองฟ้าป่าหิมพานต์นั้น มีเรื่องราวของสัตว์ที่มีอิทธิฤทธิ์มากมายหลายชนิด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ อันมีลําตัวเป็นสิงห์แต่มีศรีษะเป็นช้าง กินรี กินนร และสัตว์แปลกๆอีกมากมาย ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นมี 2อย่างที่นับว่าเป็นเทพ มีอิทธิฤทธิ์มากคือ พญาครุฑ จ้าวแห่งเวหา อีกหนึ่งคือ พญานาคราช จ้าวแห่งบาดาล
พญาครุฑ
  พญานาคนั้นมีวิมานอันเป็นทิพย์อยู่ในเมืองบาดาล ส่วนพญาครุฑนั้นก็มีวิมานฉิมพลีอยู่ที่เชิงเขาไกรลาสและได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีศาสตราวุธใดๆสามารถทําร้ายได้ แม้แต่สายฟ้าของพระอินทร์ กล่าวว่าองค์พญาครุฑนั้นมีนามว่า ท้าวเวนไตย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวสุบรรณ ซึ่งหมายถึง(ขนวิเศษ) มีกายเป็นรัศมีสีทอง มีเดชอํานาจมากที่สุดในหมู่ครุฑทั้งหลาย อาศัยเกาะอยู่ตามต้นงิ้ว อาศัยผลงิ้วและนําดอกไม้จากตันงิ้วเป็นอาหารทิพย์ ลูกพญาครุฑจะโตขึ้นนับเวลาอายุเป็นข้างขึ้นข้างแรมตามจันทรคติ เติบโตด้วยบุญกุศลที่เคยทํามา หากลูกครุฑตนใดที่มีบุญญาธิการมามาก อํานาจจะบันดาลให้เกิดผลงิ้วทิพย์และน้ำหวานจากดอกไม้มาบําเรอลูกครุฑตนนั้นๆและลูกครุฑตนดังกล่าวจะจําเจริญวัยได้อย่างรวด

  นาคและครุฑต่างเป็นสัตว์ที่คู่กันมาตามตํานาน มีเรื่องราวเล่ากันว่าในขณะที่พระพรหมกําลังสร้างโลกอยู่นั้น พระทักษะปชาบดีได้ยกลูกสาวทั้ง13คนให้ ฤาษีกัสยปะเทพบิดร และเกิดบุตรหลานเป็นจํานวนมาก โดย นางกัทรุ หนึ่งในบรรดาลูกสาวทั้ง13คนนั้นได้เป็นมารดาของนาคและงู1000ตัว ส่วน นางวินตา ผู้เป็นน้องก็ได้ให้กําเนิดไข่2ฟองซึ่งต้องใช้เวลาฟักนานมาก นางวินตา ทนรอไม่ไหวจึงทุบไข่ฟองนึงให้แตกเป็นตัวออกมา บุตรของ นางวินตา เมื่อออกมาแล้วปรากฎว่าเป็น ชายครึ่งนก แต่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์เพราะออกมาจากไข่เร็วเกินไปดังนั้นบุตรชายครึ่งนกก็กราบทูลพระมารดาว่า ให้รอไข่อีกฟองแตกตัวออกมาโดยวิธีธรรมชาติ ก็จะได้บุตรชายครึ่งนกที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ จะมีบุญญาธิการและพละกําลังมหาศาลและจะคอยให้ความช่วยเหลือนางวินตาพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง พอกล่าวจบบุตรครึ่งนกตนแรกก็บินจากนางไป และไปเป็นสารถีให้พระสุริยะเทพ และมีนามที่เรียกกันว่า อรุณเทพบุตร ซึ่งถือเป็นพี่ชายของพญาครุฑ
  ต่อมานางกัทรุและนางวินตาได้พนันกันว่าม้าที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เหล่าทวยเทพและอสูรกวนน้ำอมฤต ที่วิ่งไปวิ่งมาอยู่บนสวรรค์นั้นมีหางสีอะไรถ้าใครแพ้ก็ต้องเป็นข้ารับใช้ตลอดไป นางวืนตาเลือกตอบว่าหางของม้านั้นเป็นสีขาว ส่วนนางกัทรุนั้นได้ตอบว่าเป็นสีดําแต่จริงๆแล้วนางกัทรุได้รู้แจ้งอยู่แล้วว่าหางของม้าเป็นสีขาวและนางกัทรุกลัวแพ้จึงได้คิดวางอุบายขึ้นโดยให้ลูกงูทั้ง1000ตัวนั้นเข้าไปพันอยู่รอบๆหางของม้าให้หางของม้าดูแลกลายเป็นสีดํา และเมื่อม้าตัวนั้นวิ่งมาถึงนางทั้ง2ก็เห็นหางของม้าเป็นสีดํา นางวินตา เลยจําต้องยอมแพ้และกลายเป็นข้ารับใช้ของนางกัทรุ

  ในขณะนั้นเองไข่ฟองที่2ของนางวินตาก็ได้ฟักตัวออกมา เมื่อแรกเกิด ร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตราเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกใด บรรดาขุนเขาก็ตกใจต้องปลาดหนีไปพร้อมกับพระพาย รัศมีพวยพุ่งออกมาจากกายสว่างไสวเป็นที่อัศจรรย์ มีลักษณะดั่งไฟไหม้ไปทั่วทั้งสี่ทิศ กระทําให้ทวยเทพต้องตกใจ สําคัญว่าเป็นพระอัคนี ต่างพากันมาบูชา เพื่อขอความคุ้มครอง หลังจากนั้นก็ได้ออกบินไปตามหานางวินตาผู้เป็นมารดาจนพบ นางวินตาจึงเล่าเรื่องที่ถูกนางกัทรุใช้กลโกงในการพนันจนต้องมาเป็นทาสรับใช้ พอทราบเรื่องเข้าก็ทำให้บุตรชายครึ่งนกของนางวินตา รู้สึกโกรธแค้นนางกัทรุและนาคเป็นอันมาก จึงทําให้บุตรชายครึ่งนกของนางวินตาเป็นศัตรูกับพวกนาคและงูกันมาตลอดเจอกันเมื่อไรเป็นต้องต่อสู้กัน แต่นางวินตาก็ได้ร้องขอและได้ห้ามไว้ไม่ให้ไปทำอะไรกับฝ่ายนางกัทรุและเหล่านาคอีก เพราะต้องการรักษาคำพูดและรักษาสัตย์ที่ได้ตกลงกันไว้นั้น บุตรชายครึ่งนกของนางวินตาก็ยอมอยู่กับนางวินตาและยอมเป็นข้ารับใช้นางกัทรุและบรรดาลูกๆของนางคือนาคกับงู 1000 ตัวด้วย
  ในที่สุดบุตรชายครึ่งนกของนางวินตาได้เข้าไปเจรจาขอแลกอิสรภาพจากนางกัทรุและเหล่านาคให้แก่มารดาของตน นางกัทรุจึงได้ขอแลกกับน้ำอมฤตเป็นการแลกกกับอิสระภาพของนางวินตา บุตรนางวินตาจึงบินไปหาน้ำอมฤตในทันที ในระหว่างทางก็ได้พบกับฤาษีกัสปะเทพบิดรผู้เป็นบิดา ซึ่งได้แนะนำให้บุตรนางวินตาบินไปยังทะเลสาปแห่งหนึ่งและจับกินเต่ายักษ์และช้างที่กำลังสู้กันเพื่อเพิ่มพลังในระหว่างการเดินทางไปหานําอมฤต บุตรนางวินตาจึงได้จับสัตว์ทั้งสองกินแล้วออกบินต่อไป พอมาถึงต้นไทรต้นหนึ่งก็ได้แวะลงไปเกาะที่กิ่งต้นไทร ต้นไทรนี้มีฤาษี 4ตนกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ พอบินลงมาเกาะจึงทำให้กิ่งต้นไทรหัก บุตรนางวินตาจึงจับกิ่งไม้นั้นไว้เพื่อไม่ให้ฤาษีทั้ง 4ตนตกลงไป ฤาษีทั้ง 4จึงเรียกบุตรนางวินตาว่า "ครุฑ" แปลว่า "ผู้แบก" หรือผู้ซึ่งยกของหนักได้ บุตรของนางวินตาจึงได้ชื่อว่า "พญาครุฑ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

  เมื่อข่าวเรื่องพญาครุฑจะมาขโมยน้ำอมฤตรู้ถึงพระอินทร์ พระอินทร์จึงสั่งเพิ่มเหล่าบรรดากำลังทหารสวรรค์ให้เข้มแข็ง โดยชั้นนอกให้เหล่าเทวดาสวรรค์และทูตสวรรค์รักษาไว้ ให้หม้อน้ำอมฤตอยู่ตรงกลางกงจักรที่มีงูยักษ์ 2ตัวหมุนกงจักรและจุดไฟล้อมรอบเอาไว้เพื่อป้องกันและขัดขวาง เมื่อพญาครุฑเดินทางมาถึงก็ได้ต่อสู้กับบรรดาเหล่ากองทัพทหารสวรรค์อย่างดุเดือด และก็ใช้ปีกกระพือลมพัดเหล่าทหารเทวดาสวรรค์จนแตกพ่าย เหล่าบรรดาทหารสวรรค์ไม่สามารถต้านทานฤทธิ์เดชอํานาจของพญาครุฑได้จึงพ่ายแพ้และสูญสลายไปจนหมดสิ้น แล้วจึงบินพุ่งลงไปอมน้ำในมหาสมุทรมาพ่นดับไฟที่ลุกอยู่ล้อมรอบกงจักรนั้นเสีย และกินงูที่กำลังหมุนกงจักรอยู่นั้นอีกด้วย แล้วจึงเข้าชิงนำน้ำอมฤตกลับมาไถ่ตัวมารดา พระอินทร์จึงเข้าขัดขวางจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น พระอินทร์ใช้สายฟ้าฟาดเข้าที่บริเวณปีกของพญาครุฑเข้าอย่างจังแต่สายฟ้าของพระอินทร์มิอาจทําอันตรายต่อพญาครุฑได้เลย ในที่สุดพระอินทร์จึงยอมแพ้ต่อพญาครุฑ และพญาครุฑจึงได้มอบขนปีกให้กับพระอินทร์หนึ่งเส้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอินทร์ และนับจากนั้นมาพญาครุฑจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ท้าวสุบรรณ"แปลว่า"ขนวิเศษ"

  เรื่องราวการรบครั้งนั้นได้เลื่องลือล่วงรู้ไปถึงสามโลกธาตุ จนร้อนถึงพระนารายณ์ต้องลงมาช่วยปราบ จนเกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างพระนารายณ์และพญาครุฑ ต่อสู้กันจนฟ้าลั่นแผ่นดินสะเทือนแต่ทั้งพระพระนารายณ์และพญาครุฑต่างก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ทั้งสองจึงยุติศึกและทำสัญญาเป็นไมตรีต่อกัน โดยพญาครุฑสัญญาที่จะรับเป็นพาหนะให้กับพระนารายณ์ตลอดไปและเป็นธงครุฑพ่าห์สําหรับปักอยู่บนรถศึกของพระนารายณ์ ส่วนพระนารายณ์ก็ได้ให้พรความเป็นอมตะแก่พญาครุฑและไม่มีใครทำลายได้ เสร็จแล้วพญาครุฑจึงได้นำน้ำอมฤตไปไถ่ตัวนางวินตาผู้เป็นมารดาในเวลาต่อมา

    ครุฑเป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ หรือกึ่งกายทิพย์กายสิทธิ์คล้าย ชาวลับแล และ พวกพญานาค อยู่อีกมิติหนึ่งจากโลกของเรา ผู้ที่สามารถจะพบเห็นพญาครุฑได้นั้นต้องเคยมีบุญร่วมกับเขามา จึงจะสามารถรับรู้ถึงกันและกันได้ เหมือนกับผู้ที่สามารถติดต่อกับพญานาคได้เช่นกันล้วนต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาต่อกันมาตั้งแต่อดีตกาลทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องสาธารณะที่จะรู้กันได้ทั่วกันไปเช่นสามัญ

  เรื่องของพญาครุฑเป็นเรื่องราวที่มีความอัศจรรย์ โลดโผนมาก แต่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าใดนัก ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวของพญาครุฑเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากเพราะทางฮินดูเขานับถือครุฑว่าเป็นเทพเจ้าพระองค์หนึ่งเลยทีเดียว แม้แต่ในไทยของเราเอง ทางไสยศาสตร์ก็ให้ความนับถือเกี่ยวกับครุฑนี้มาก ดูอย่างตราประจําแผ่นดินเองก็มีลักษณะเป็น ครุฑ จึงน่าสนใจว่า ครุฑ นั้นมีอานุภาพบางอย่างและน่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในอีกมิติหนึ่ง
































































วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

255 พระสมเด็จพุฒจารย์(โต) เสด็จอจินไตย


พระสมเด็จพุฒจารย์(โต) เสด็จอจินไตย

เปิดพระกรุวังหน้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เสด็จอจินไตย เผยโฉมเป็นครั้งแรก




สมเด็จพุฒาจารย์(โต) ฐานนั่งพญานาคราช ประดับเพชร ล้อมเพชรสีฟ้า


ด้านหลังพระสมเด็จ ล้อมกรอบเพชร ประดับพระธาตุรอบ


ด้านข้างเลียบ



ด้านข้างเลียบ



สมเด็จพุฒาจารย์(โต) ฐานนั่งพญานาคราช ประดับเพชร ล้อมเพชร



ด้านหลังเหรียญ ร.5 ล้อมเพชร ประดับพระธาตุรอบ



ด้านข้างเลียบ


ด้านข้างเลียบ



เหรียญ ร.5 ล้อมเพชร