ผู้มีบุญ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

227 พญามังกรนาคราชประกายเพชรเกร็ดแก้วจักรพรรดิ์ แห่งเมืองบาดาล

พญามังกรนาคราชประกายเพชรเกร็ดแก้วจักรพรรดิ์ แห่งเมืองบาดาล


ลักษณะของมังกรจีน.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลักษณะของมังกรจีนที่เกิดจากจินตนาการ
คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของ มังกรจีนในงานด้านจิตกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน คือ
ลักษณะหัวของมังกร คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้
ลักษณะหนวดของมังกร คล้ายกับหนวดของมนุษย์
ลักษณะเขาของมังกร คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
ลักษณะตาของมังกร คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต
ลักษณะหูของมังกร คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น
ลักษณะคอของมังกร คล้ายกับคองู
ลักษณะท้องของมังกร คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
ลักษณะเกล็ดของมังกร คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆ
ลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
ลักษณะฝ่าเท้าของมังกร คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ
ลักษณะของมังกรจีน สัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่จีนให้ความเคารพนับถือ ลักษณะของมังกรเกิดจากจินตนาการโดยการรวมเอาลักษณะของสัญลักษณ์เผ่าต่างๆมารวมกัน มีความแตกต่างกันตามคติความเชื่อถือและการประดิษฐ์ของช่าง มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้
มังกรมีเขา หรือหลง เป็นลักษณะของมังกรที่มีเขาเหมือนกับกวางดาว ซึ่งคนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากฟากฟ้าแดนสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุดสามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ซึ่งจะชำแหละเนื้อไว้กินและหนังจะส่งขายให้กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปทำเป็นซับในของเสื้อเกราะญี่ปุ่นซึ่งหนังกวางนั้นเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญของไทยมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มังกรมีปีก หรือหว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรฝรั่งที่สามารถพ่นไฟ ได้ คนฝรั่งนิยมที่จะนำมังกรมีปีกนี้มาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัวแทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยข้าวต้ม
มังกรสวรรค์ หรือเทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า คนจีนมีความเชื่อกันว่า มังกรเทียนหลงนี้เป็นมังกรที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย
มังกรวิญญาณเฉียนหลง หรือหลีเฉี่ยวหลง เป็นมังกรที่บันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและมนุษยชาติของชาวจีน แต่โบราณ มังกรหลีเฉี่ยวหลงนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย
มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล มังกรฟูแซงนี้น่าจะเป็นคติของอินตู้หรืออินเดียมากกว่าของจีน ซึ่งชาว กรีก โบราณเองก็มีความเชื่อกันในเรื่อง "มังกรบาดาล" เช่นกัน ความเชื่อเกี่ยวกับมังกรบาดาลนี้เป็นความเชื่อและคติที่เก่าแก่มาก
มังกรขด ไม่มีฝอย เป็นมังกร "หด" ธรรมดา
มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน
มังกรบ้าน หรือลี่หลง เป็นมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น
พญามังกร คือมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก (ตัง),ใต้ (น้ำ), ตะวันตก (ไซ) และเหนือ (ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต
มีการบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของประเทศจีน มีความหมายว่า "มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ"



พญามังกรฟูแซง


พญามังกรฟูแซงเมืองบาดาลเฝ้าทรัพย์




























ลักษณะคอคล้ายคอพญานาค






ส่วนหัวคล้ายหัวม้า หรือหัวจระเข้



ส่วนปลายหางคล้ายหางแมว










ส่วนเขาคล้ายเขากวาง (มีอายุ 500 ปี)



ลิ้นสองแฉก






เล็บพญาครุฑ





ส่วนตาลักษณะคล้ายตากระต่าย



เกร็ดประกายเพชร



ขาหลังซ้ายกำลูกแก้ว



เกล็ดคล้ายปลามังกร







ขาคล้ายขากวางดาว









คล้ายพระธาตุสิวลีแก้วจักรพรรดิ์








มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล มังกรฟูแซงนี้น่าจะเป็นคติของอินตู้หรืออินเดียมากกว่าของจีน ซึ่งชาว กรีก โบราณเองก็มีความเชื่อกันในเรื่อง "มังกรบาดาล" เช่นกัน ความเชื่อเกี่ยวกับมังกรบาดาลนี้เป็นความเชื่อและคติที่เก่าแก่มาก

"พญามังกรนาคราชประกายเพชรเกร็ดแก้วจักรพรรดิ์ แห่งเมืองบาดาล"





ไม่มีความคิดเห็น: