รูปเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด:เนื้อทองเหลืองนั่งบัลลังก์พญางู
ได้มาจากพระอาจารย์ปรีชา วัดป่าสุริย์วงศ์วนาราม บอกว่าท่านได้มาแบบอจินไตย (ขึ้นมาจากพื้นดิน ใต้ต้นสะเดาในบริเวณวัด) บอกว่าเป็นของผมจึงนำมามอบให้เพื่อไว้บูชาเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว
ประวัติหลวงปู่ทวด
หลวงปู่ทวด เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาในราวปี พ.ศ.2125 เป็นบุตรของ นายหู นางจันทร์ มีชื่อว่า เด็กชายปู
เมื่อเกิดได้มีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันรอบเปลขณะกำลังหลับอยู่
และงูใหญ่นั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้ บิดามารดาของท่านได้เกิดความสงสัยว่า
พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาให้เห็นที่น่าอัศจรรย์ในบารมีของเด็กน้อย
ซคคคึ่งเป็นลูกชายเป็นแน่ จึงได้รีบหาข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา
แล้วงูจึงได้คลายออกจากเปลเลื้อยหายไป
ด้วยความเป็นห่วงจึงเข้าดูว่าเกิดเหตุอันตรายหรือเปล่า
แต่กับพบลูกแก้วอยู่ที่หน้าอกจึงได้เก็บรักษาไว้
เมื่อ
เติบใหญ่อายุได้ 7 ขวบ บิดาจึงได้นำไปฝากกับสมภารจวง วัดกุฏิหลวง
(วัดดีหลวง) ให้เล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปู
มีความสามารถอ่านออกเขียนได้ทั้งขอมและไทยได้อย่างแตกฉาน พออายุได้ 15 ปี
ได้บรรพชาเป็นสามเณร บิดาก็ได้มอบลูกแก้ววิเศษประจำตัว
สมาเณรได้ศึกษาอยู่กับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง)
พอครบอายุอุปสมบทได้เดินไปศึกษา ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี
ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า
“เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” ได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง
และวัดอื่นๆ
เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงได้ขอโดยสารเรือสำเภา
เดินทางไปกรุงศรีอยุธยา เดินทางถึงเมืองชุมพร
เกิดพายุเรื่อไม่สามารถแล่ฝ่าคลื่นไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน
เป็นเหตุให้เสบียงอาหารและน้ำหมด
บรรดา
ลูกเรือตั้งข้อสังเกตว่าเหตุอาเพศเกิดในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม
จึงได้พร้อมใจกันส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือ
มาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาด
ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในน้ำทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็น
ประกายแวววาว
เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด
จึงช่วยกันตักไว้จนพอ นายสำเภาจึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นเรือสำเภา
และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่วัดลุมพลีนาวาส
ได้ย้ายไปพำนักที่วัดสมเด็จพระสังฆราชได้ศึกษาพระธรรมและภาษาบาลี
จนแตกฉานแล้วจึงได้ทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชานุวาสในรัชสมัย
ของสมเด็จพระเอกาทศรถ
เจ้าสามีรามได้มีส่วนช่วยเหลือในการแปลปริฒนาธรรมจนสำเร็จ
ได้พระราชทานให้เจ้าสามีราม เป็น “พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์”
“พระ
ราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” หรือ หลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ
วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่หลายปี ด้วยควาสงบร่มเย็น
ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้เกิดโรคระบาดไปทั่ว ประชาราษฏรล้มป่วยตายเป็นจำนวนมาก
จึงได้ละลึกถึงพระราชมุณีฯ มีรับสั่งให้ไปนิมนต์ท่านมา
และได้ช่วยให้โรคระบาดหายด้วยอำนาจคุณความดีและคุณธรรมอันสูงสุด
ได้เลื่อนท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชนามว่า “พระสังราชคูรูปาจารย์”
ล่วง
มาหลายปีจึงได้ขอทูลลากลับภูมิลำเนาเดิม ได้รุกขมูลธุดงค์
ก็ได้เผยแพร่ธรรมมะไปด้วยตามเส้นทางผ่านที่ไหนมีผู้ป่วยก็ทำการักษาให้
ตามแนวทางที่ท่านพำนักพักแรมที่ใด ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
และท่านไดธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ เป็นจุดหมายปลายทาง
ประชาชนต่างชื่นชมยินดีและได้ถาวยนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ”
และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ”
เมื่อ
สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมเนื่องจากถูกข้าศึกทำลาย
เมื่อบูรณะเสร็จได้จำพรรษาเผยแพร่ธรรมอยู่หลายพรรษา
ท่านได้ออกจาริกเผยแพร่ธรรมะไปสถานที่ต่างๆ
จากหลักฐานท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกว่า “ท่านลังกา”
และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกว่า “ท่านช้างไห้”
ดังนั้นท่านได้สั่งแกลูกศิษย์หากท่านมรณภาพเมื่อใด
ขอให้ช่วยนำศพไปทำการฌาปณกิจ ณ วัดช้างให้ ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา
สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิศัตว์หน่อพระพุทธภูมิ
ผู้ทรงศีลและปัญญาไม่ว่าท่านจะไปพำนักที่ใด
ที่นั้นจะเป็นแหล่งศูนย์รวมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ไม่ว่าท่านไปจาริกที่ใดมีคนกราบไหว้ฟังธรรม
พระคาถาปลุกเสก
"นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา "
"นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา "
จัดดอกไม้ธูปเทียนบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย และคุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ แล้วว่า...นะโมฯ ๓ จบ
แล้วนำพระเครื่องหลวงพ่อทวดที่มีอยู่เข้าพนมมือเหนือหน้าอก สงบจิตบริกรรมพระคาถามากน้อยเท่าใดก็ได้ตามปรารถนา
เลือกปลุกเสก วันเสาร์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี
แล้วนำพระเครื่องหลวงพ่อทวดที่มีอยู่เข้าพนมมือเหนือหน้าอก สงบจิตบริกรรมพระคาถามากน้อยเท่าใดก็ได้ตามปรารถนา
เลือกปลุกเสก วันเสาร์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี
ฐานพญางู |
พญางูใหญ่ที่ใต้ฐานพระ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น